นายกสมัคร

นายกฯฉะพันธมิตรแถลงเหมือน'คนบ้า' จ้องให้เกิดปฏิวัติ


นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ยังขอตำหนิกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่คอยส่งคนไปโห่ฮารัฐมนตรี โดยพันธมิตรฯ จะส่งคนไปทั่วประเทศเพื่อทำการยึดศาลากลาง โดยมีจุดประสงค์ให้ทหารออกมาปฏิวัติ และยังขึ้นเวทีพูดปลุกระดมและออกแถลงการณ์เหมือนคนบ้า โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่สื่อมวลชนกลับไม่ตำหนิพฤติกรรมดังกล่าว แต่มาตำหนิรัฐบาล จึงเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอนาจใจ





การ์ตูน


วันนี้ว่างมาดูการ์ตูนกันเน้อ ต้อนรับวันเข้าพรรษา







http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=60350&NewsType=2&Template=1

เขาพระวิหาร


'ชวน'เตือนทุกฝ่ายให้ใจเย็น
แก้ปัญหาเขาพระวิหาร
[18 ก.ค. 51 - 14:01]



นายชวน หลีกภัย
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าววันนี้ (18 ก.ค.)


ถึงสถานการณ์ชายแดนไทยด้านเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ ว่า ทุกฝ่ายควรใจเย็นและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่มีปัญหา คือ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ที่เป็นผลพวงจากการสนับสนุนของรัฐบาลไทย



ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีข้อดี คือ ทำให้เกิดความสนใจปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลไทยเคยลงนามบันทึกช่วยจำกับกัมพูชา เรื่องพื้นที่ทับซ้อนเมื่อปี 2543 ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศ ต้องปฏิบัติตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว โดยเฉพาะการกำหนดข้อปฏิบัติว่า ทั้ง 2 ประเทศ จะไม่เข้าไปดำเนินการอะไรในพื้นที่ทับซ้อน จึงควรรอฟังการประชุมร่วม 2 ประเทศ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

“เป็นหน้าที่รัฐบาลต้องชี้แจง โดยรัฐบาลต้องไม่มีอคติ

แต่ต้องฟังเหตุผล เพื่อทบทวนเรื่องที่เกิดขึ้น พูดกันดีๆ ดีกว่า

ถ้าเห็นว่าเป็นปัญหาก็พูดจากัน” นายชวน กล่าว













فطاني مرديكا

ปริศนายุติไฟใต้ของจริงหรือลวง?


ดูเหมือนว่านับแต่เกิดความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา รัฐบาลยังคลำเป้าไม่ถูกว่าใครกันแน่ที่เป็นตัวการใหญ่ป่วนใต้

ถึงขั้นกล่าวหาว่าเป็นผลงาน "โจรกระจอก" ด้วยซ้ำไป

จากนั้นมาคนของรัฐพุ่งเป้าและให้น้ำหนักไปที่ "ขบวนการเบอร์ซาตู" ซึ่งมีเครือข่าย 7 กลุ่มใหญ่ โดยมี ดร.วันการ์เด เจ๊ะมาน เป็นหัวหอกในการขับเคลื่อน

ถึงขั้นมีข่าวโยนหินถามทางออกมาหลายระลอกว่า จะมีการเปิดเจรจาลักษณะ "Peace Talk" เพื่อนำไปสู่การทำแผนสันติภาพ และพัฒนาสันติภาพร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

สุดท้ายสันติภาพเป็นได้เพียงแค่ลมปาก เมื่อฝ่ายรัฐประเมินว่า ขบวนการเหล่านี้ไม่ใช่ตัวจริงเสียงจริงแต่อย่างใด

ความพยายามจากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ยังไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ที่จะนำไปสู่ปลายอุโมงแห่งสันติภาพได้

กระทั่ง จู่ๆ ก็มีการเปิดตัวของผู้อ้างตัวว่าเป็น "กลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย"

โดยมีการประกาศยุติความรุนแรงผ่านสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในเที่ยงวันที่ 17 กรกฎาคม จนกลายเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจไม่น้อย

ประหลาดใจตรงที่อยู่ๆ กลุ่มดังกล่าวก็ยอมบอกเลิกศาลาเอาดื้อๆ ชนิดไร้เงื่อนไขอีกต่างหาก

เรื่องนี้ในสายตา "กูเป็ง" หรือ พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม อดีตรองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 และประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ฟันธงทันทีว่า ผู้ประกาศถ้อยแถลงยุติความรุนแรงครั้งนี้คือ "หะยีสะมะแอ มะรือโบ" หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธกลุ่มพูโล

" การแสดงจุดยืนของกล่มพูโลครั้งนี้ อาจยังไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ดีกรีความรุนแรง ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้สงบลงอย่างเฉียบพลัน เพราะยังไม่มีคำยืนยันของกลุ่มหัวแข็งที่สุดในพื้นที่อย่าง "บีอาร์เอ็น โคออดิเนต" ว่าจะเอาด้วยหรือไม่อย่างไรกับ "กลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย" พล.ต.จำรูญ วิเคราะห์

ที่สำคัญวันนี้กลุ่มบีอาร์เอ็นได้แตกเซลล์ขยายเครือข่าย ชุดปฏิบัติการกระจายอยู่ทั่วพื้นที่หลายจุดสามจังหวัด เป็นกลุ่มปฏิบัติการทางทหารในระดับหมู่บ้าน และกลุ่มนักรบหลัก (คอมมานโด) ที่ดูแลระดับเขตอำเภอ และที่สำคัญนักรบ "รุ่นใหม่" เหล่านี้ เลือกใช้วิธีรุนแรงและเดินสวนทางแนวคิดกลุ่มเก่า รวมไปถึงกลุ่มนักสู้เพื่อเอกราชปาตานี ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเครือข่ายของขบวนการบีอาร์เอ็น-โคออร์ดิเนต

ทว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะการประกาศของแกนนำกลุ่มพูโลในนามกลุ่มใต้ดินนั้น จะสามารถควบคุมขบวนการที่แต่หน่อแตกกอมากมายในปัจจุบันได้หรือไม่

ในมุมของอดีตนายตำรวจรายนี้ชี้ว่า เวลาและสถานการณ์เท่านั้น จะเป็นเครื่องตัดสินว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

พล.อ.กิตติ รัตนฉายา อดีตแม่ทัพภาค 4 มองว่าถือเป็นเรื่องที่ด ีในแง่การคลี่คลายสถานการณ์ภาคใต้ตามแนวทางสันติวิธี แต่ประเด็นที่น่าสงสัยคือ มีใครบ้างที่ร่วมลงมติเดียวกับ "กลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย"

ที่สำคัญการออกมาแสดงตัว และประกาศยุติความรุนแรงผ่านคนกลางหรือตัวเชื่อมอย่าง "พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร" หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แม้จะเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก แต่ปัจจุบันมีภาพ "นักการเมือง" อย่างชัดเจน

"หน้าที่นี้ต้องผ่านกองทัพบกมากกว่าเพราะเรื่องนี้ ผบ.ทบ.เป็นผู้ดูแลโดยตรง อีกทั้งการใช้ช่องทางสื่อโดยผ่านสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งมีเครือข่ายระบบโกลบอลเน็ตเวิร์กทั่วโลก ทำให้วันนี้เรายกระดับกลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทยไปโดยปริยาย"

อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ย้ำว่า ในสถานการณ์ขณะนี้จะต้องเฝ้าและรอดูกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี ขบวนการปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี บีอาร์เอ็นโคออดิเนต รวมถึงกลุ่มเบอร์ซาตู ว่าจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไร เพราะคำประกาศยุติความรุนแรง อาจจะเป็นการเติมเชื้อให้อีกกลุ่มเร่งเร้าความรุนแรง หรือคิดวางอาวุธก็ได้

"แต่สิ่งหนึ่งที่สังคมไทยได้รับรู้ผ่านคำประกาศคือ และสามารถสรุปได้นั่นคือปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ คือเรื่องการแบ่งแยกดินแดนซึ่งเขาคิดทำมานานเกือบร้อยปีแล้ว และเชื่อหรือไม่ว่าเขาจะเลิกคิด" พล.อ.กิตติ ตั้งข้อสังเกตที่มีแต่ความมีเคลือบแคลง

ณ วันนี้ คำตอบสุดท้ายที่จะเดินไปสู่สันติภาพอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ภาคใต้ได้ก็คือ การเอาชนะความคิดขบวนการทุกกลุ่มที่มีอยู่ให้ได้ ซึ่งนั่นหมายถึงรัฐไม่จำเป็นต้องตามหาตัวตนว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังที่แท้จริง