สงครามครั้งสุดท้าย" ปฏิบัติชิงเมืองของพันธมิตร

"สงครามครั้งสุดท้าย" คำประกาศที่ชวนระทึกใจของ"พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" เริ่มไม่ใช่คำขวัญเก๋ที่ใช้ขู่ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นเพราะเมื่อจังหวะการเมือง
ขยับมาสู่ขั้นนี้ สมัครสุนทรเวช ถูกปลิดชีพทิ้งกลางทางเพื่อปลดชนวนปัญหา แต่ฝั่ง พันธมิตร นอกจากไม่ถอยแล้วยังเดินหน้าลุยไม่หยุดยั้งอย่างดุเดือด
ปลุกระดมหนักหน่วงกว่าเดิม

"สงครามครั้งสุดท้าย" ของพันธมิตรเที่ยวนี้ไม่ใช่แค่ประท้วงต่อรอง กดดัน เพื่อต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับปกติธรรมดา แบบที่ชาวบ้านเขาทำกัน

แต่เลยเถิดเป็นเกม"ชิงบ้านชิงเมือง" กันเลยทีเดียว

"รัฐบาล" โดยเฉพาะ"สมัคร" ก็อ่านเกมขาดเข้าใจลึกซึ้ง ว่า ศึกนี้ใหญ่หลวงนัก ถึงแข็งขืนไม่ยอมลาออกเพราะรู้ดีว่า

ถ้า ลาออก จะ เพลี่ยงพล้ำถึงขั้นแพ้ทั้งกระดานได้ไม่ยาก

การประกาศจะอยู่เพื่อปกป้องประชาธิปไตยจึงมีนัยว่าจะอยู่ปกป้องหม้อข้าวตัวเองปกปักรักษาฐานอำนาจทางการเมืองของนักเลือกตั้งไว้ต่อไป

ขณะที่ยุทธการชิงเมือง ของพันธมิตรที่มาในนาม"การเมืองใหม่" จะทำการ ยึดอำนาจจากนักการเมืองรุ่นปัจจุบันไปสู่ระบบใหม่

โดยจะออกแบบคนที่จะเข้ามา เป็นผู้แทนแบบใหม่เลือกตั้งส่วนหนึ่งและสรรหาเป็นส่วนใหญ่

เมื่อนี่เป็นสงครามชิงเมือง ของพันธมิตรและนักการเมืองเกมจึงดุเดือดยิ่ง

นับเป็นการรบของภาคประชาชนที่มีทหารอดีตข้าราชการ ชนชั้นสูง หนุน หลัง กับนักการเมือง ที่ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของชาวชนบท

ซึ่งเป็นกลุ่มที่กุม ฐานอำนาจทางการเมืองอยู่ในปัจจุบัน

2 ฝ่ายย่อมห้ำหั่นจนแตกหัก

แน่นอนว่าเมื่อพันธมิตร คิดการใหญ่โตมโหฬารขนาดจะหักดิบประชาธิปไตย ข้อเรียกร้องจึงไม่หยุดแค่การไล่สมัครหรือต่อต้านนายกฯ 3 ส.เท่านั้น

เพราะวันนี้พันธมิตร ไม่ได้ต้องการแค่เปลี่ยนตัวนายกฯแต่ต้องการ "ปฏิวัติ" หรือเปลี่ยนแปลง"โครงสร้าง"

ด้วยการกวาดล้างนักการเมืองในระบบนี้ให้สิ้นซากด้วยโมเดลการเมืองใหม่

ดังนั้นจึงไม่อาจไว้วางใจสมาชิกสภาชุดนี้ทำได้เพราะไม่มีทางที่ นักการเมืองจะทุบหม้อข้าวตัวเองแล้วแก้ไขกติกาการเลือกตั้งให้เป็น

สูตร 70/30 ตามโมเดลของพันธมิตร

ภารกิจของพันธมิตรคือต้องระเบิดสภาชุดนี้ทิ้ง เพื่อเปิดพื้นที่สร้างแนวทางใหม่

หนทางที่จะระเบิดระบบนี้ให้พังพาบลงได้ก็คือต้องเดินหน้าสู่ทางตัน การเมืองให้ได้ก่อน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการเมือง ปัจจุบัน

เพื่อเป็นฐานความชอบธรรมในการสร้างการเมืองใหม่

ทุกอย่างที่พันธมิตรทำวันนี้จึงเป็นการลากพาสถานการณ์การเมืองให้ไปสู่"ทางตัน" ให้ได้

ทั้งการปฏิเสธไม่ยอมออกจากทำเนียบรัฐบาลอันเป็นศูนย์กลางการบัญชาการ ของอำนาจรัฐไทย และการไม่ยอมรับใครก็ตามที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาลเป็น นายกฯ

ล้วนนำไปสู่ทางตันได้ทั้งสิ้น

"สนธิ ลิ้มทองกุล" ประกาศอย่างภูมิใจว่า

"เป็นเพราะพันธมิตรที่ทำให้การเมืองถึงทางตัน ถ้าไม่มีพันธมิตรการเมืองจะไม่ตัน ความชั่วช้าจะไหลเวียนถ่ายเทต่อไปได้เรื่อยๆ"

เสียงแว่วจากวงประชุมแม่ทัพพันธมิตรดุดันถึงขั้นว่าเมื่อสภาไม่อาจ เป็นกลไกคลี่คลายปัญหาได้สุดท้ายสถานการณ์ก็จะบีบให้ทหารต้องปฏิบัติการ "บางอย่าง" เพื่อ"โละ" หรือ"ยึด" อำนาจรัฐไม่ว่า "ทางลับ" หรือ"ทางแจ้ง"

ต่อจากนั้นก็อาศัยมาตรา 7 ตามรัฐธรรมนูญผ่าทางตันโดยจำเป็นต้องงดใช้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 171

ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส.เท่านั้นแล้ว เชิญนายกรัฐมนตรี "คนนอก" เข้ามาทำหน้าที่ร่างกติกาการเมืองใหม่

เมื่อมองทะลุช็อตจนเห็นแก่นแกนยุทธศาสตร์ของพันธมิตรแล้วสถานการณ์หลังจากนี้จึงน่าจับตามองอย่าได้กะพริบตา

นางสาวสากียะห์ หะรงค์

5131202082

ไม่มีความคิดเห็น: